วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่5


บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้ที่ใช้และไม่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันที ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
กลุ่มตัวอย่าง 60 คนกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 23 คน คิดเป็นร้อยละ 38.34 และกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 37  คน คิดเป็นร้อยละ 61.66  ลักษณะนิสัยส่วนตัวที่พบมากที่สุด นิสัยร่าเริงจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 รองลงมาตามลำดับคือ รักสันโดษ   ขี้เหงา มีมนุษยสัมพันธ์ ชอบเข้าสังคมและลักษณะนิสัยอื่นๆ ด้านลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันพบมากที่สุด คือ มักใช้เวลามากกับการเรียนและการทำงานจำนวนมากที่สุด 24 คน คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาตามลำดับ คือ มีเวลาว่างมากและไม่ทำกิจกรรมอื่นใด  ชอบเข้าสังคม สังสรรค์ปาร์ตี้ ชอบทำกิจกรรมยามว่าง ชอบทำบุญ ทำกิจกรรมอื่นๆ และชอบท่องเที่ยว ด้านระยะเวลาว่างเฉลี่ยในแต่ละวันพบว่ามีเวลาว่างเฉลี่ยในแต่ละวัน 6.46 ชั่วโมง สูงสุด 22 ชั่วโมง ต่ำสุดคือไม่มีเวลาว่าง
            2. ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
          กลุ่มตัวอย่าง 60 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่คนละ 1 เครื่อง จำนวน 47 คน รองลงมาคือ 2 และ 3 เครื่อง ตามลำดับ ด้านยี่ห้อโทรศัพท์ที่นักเรียนเลือกใช้ จากจำนวนเครื่องโทรศัพท์ทั้งหมด 75  เครื่อง พบว่า ยี่ห้อโทรศัพท์ที่ผู้บริโภคเลือกใช้มากที่สุดคือ ยี่ห้อโนเกีย (Nokia) จำนวน 23 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 30.7 รองมาคือยี่ห้อแบล็คเบอร์รี่ (Blackberry) ยี่ห้อซัมซุง (Samsung) ยี่ห้อไอโฟน (iPhone)  ยี่ห้อไอโมบาย (I-Mobile)  ยี่ห้อเอชทีซี (HTC)  ยี่ห้อแอลจี (LG) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้ออื่นๆ สีโทรศัพท์ที่นักเรียนชื่นชอบมากที่สุดคือ สีดำ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 46.7 ชอบสีขาวจำนวน 26 คน และชอบสีอื่นๆ 6 คน ด้านระดับราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เหมาะสมพบว่า ระดับราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เหมาะสมโดยเฉลี่ 6,515 บาท สูงสุดที่ราคา 30,000 บาท และต่ำสุดที่ราคา 500 บาท นักเรียนส่วนใหญ่จำนวน 26 คน มักจะเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1-2 ปี ต่อการเปลี่ยนหนึ่งครั้ง รองลงมาคือ 3-4 ปีต่อการเปลี่ยนหนึ่งครั้ง และตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปต่อการเปลี่ยนหนึ่งครั้งตามลำดับ ลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้บริโภคต้องการใช้มากที่สุดคือ แบบแท่งธรรมดา รองลงมาคือ แบบสไลด์และแบบฝาพับตามลำดับ วิธีการสื่อสารที่ผู้บริโภคต้องการใช้มากที่สุดคือ วิธีการโทรศัพท์พูดคุยกัน (voice call) รองลงมาคือ การส่งข้อความตอบโต้กันอย่างทันที (Chat) และโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน (video call) ตามลำดับ จำนวนผู้บริโภคที่ได้รับและไม่ได้รับอิทธิพลของกระแสนิยมต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก วัตถุประสงค์หลักในการใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่คือ เพื่อความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
ปัจจัยด้านรูปลักษณ์ความสวยงามที่ของผลิตภัณฑ์ทันสมัย ด้านคุณภาพของวัสดุที่ใช้ด้านความสามารถใช้งานกับอุปกรณ์อื่นได้ง่าย ด้านให้ความบันเทิง มีแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายด้านยี่ห้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านความสามารถรับส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สายได้ ด้านการรองรับการใช้งาน 3G และด้านรองรับ Wi-Fi, EDGE, GPRS มีอิทธิพลฯ อยู่ในระดับมาก

2) ปัจจัยด้านราคา (Price)
ปัจจัยด้านราคาของตัวเครื่องขณะนั้น ด้านความเหมาะสมของราคากับความสามารถของโทรศัพท์ และด้านอัตราค่าใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ มีอิทธิพลอยู่ในระดับมากส่วนปัจจัยด้านราคาขายต่อ และด้านราคาอุปกรณ์เสริมที่ต้องซื้อเพิ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับปานกลาง

3) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย( Place)
ปัจจัยด้านบริษัทที่จำหน่ายมีทำเลที่ตั้งที่ติดต่อได้สะดวก ด้านสามารถหาศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมได้สะดวก และด้านสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้จากหลากหลายช่องทาง มีอิทธิพลอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับมาก

4) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion)
ปัจจัยด้านการรับประกันสินค้า ด้านการบริการหลังการขาย และด้านการลดราคาพิเศษหรือมีของสมนาคุณ มีอิทธิพลอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับมาก

5) ปัจจัยด้านบุคลากร (Personnel)
ปัจจัยด้านพนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการให้คำแนะนำและสามารถตอบปัญหาได้ด้านพนักงานขายมีความสุภาพ มีมารยาท และมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านพนักงานขายรับผิดชอบดูแลลูกค้าตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นกระบวนการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับปานกลาง

6) ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ (Image)
ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ ด้านความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพของโทรศัพท์มือถือ ด้านความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตมือถือ มีอิทธิพลฯ อยู่ในระดับมากส่วนปัจจัยด้านความเป็นโทรศัพท์ที่มีความนิยมมากในปัจจุบัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้อยู่ในระดับปานกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น