วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่3


บทที่3
ระเบียบวิธีวิจัย

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โทรศัพท์
เคลื่อนที่ที่สามารถส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีซึ่งประกอบด้วย กรอบแนวคิด ประชาชนและกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 กรอบแนวคิด
          ในการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถส่งข้อความโต้ตอบกันได้อย่างทันทีนั้นกรอบแนวคิดในการศึกษาดังกล่าวเริ่มจากการพิจารณาผ่านลักษณะปัจจัยพื้นฐานของผู้บริโภค ผนวกกับลักษณะทางด้านสินค้าหรือผู้ผลิต จนนำไปสู่การตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกใช้สินค้า
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชากรในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ประชากรดังกล่าวประกอบด้วยนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5จำนวนทั้งสิ้น
การคำนวณหากลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้วิธีของทาโร ยามาเน (Taro Yammane)มีสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้
                         
โดยที่         n  คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
N คือ ขนาดของประชากร
e คือ ค่าความคลาดเคลื่อนของการเลือกตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ 90% หรือค่าความคลาดเคลื่อน (e) เท่ากับ 0.1ดังนั้นเมื่อแทนสูตรข้างต้นจะได้
                   
ดังนั้นเพื่อให้การคำควณมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 60 คน โดยเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญและการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่

3.3ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
          ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่ใช้และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถส่งข้อความโต้ตอบกันได้อย่างทันทีผู้ศึกษาได้ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ประเภทดังนี้
           1) ข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ข้อมูลปฐมภูมิดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือ และข้อเสนอแนะ
           2) ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย บทความ และการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด (Close-ended questions) และคำถามปลายเปิด (Open-end questions)โดยแบ่งแบบสอบถามเป็น 3 ส่วนดังนี้คือ
          ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ  ลักษณะนิสัยส่วนตัว ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันจำนวนเวลาว่างเฉลี่ยในแต่ละวัน
          ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ถือถือของผู้บริโภคแต่ละคน รวมถึงลักษณะการใช้งาน วัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่ จำนวนโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยี่ห้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ สีโทรศัพท์ที่ชอบ ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เหมาะสม ความถี่ในการเปลี่ยนโทรศัพท์ รูปแบบของโทรศัพท์ที่ใช้ วิธีการสื่อสารที่ต้องการใช้ อิทธิพลของกระแสนิยมและวัตถุประสงค์การใช้งาน
          ส่วนที่ 3 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตักสินใจเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยราคาของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านภาพลักษณ์
3.5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
          1.สถิติเชิงพรรณนาความถี่ร้อยละ
            สถิติเชิงพรรณนาใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภคในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีจุดประสงค์ในการอธิบายถึงลักษณะสำคัญของข้อมูล คือการคำนวณแจกแจงความถี่การคำนวณหาค่าร้อยละ (Percentage) ของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจำนวน 60 ชุด
          2.การให้คะแนนระดับความสำคัญ
          การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำเสนอในรูปของค่าเฉลี่ยและได้จัดความสำคัญ โดยทำการวัดความคิดเห็นแบบลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) ซึ่งระดับความสำคัญและคะแนนแบ่งเป็น 5 ระดับดังนี้
ระดับความสำคัญของปัจจัย                                                                   คะแนน
มากที่สุด                                                                                     5
มาก                                                                                             4
ปานกลาง                                                                                     3
น้อย                                                                                              2
น้อยมาก                                                                                       1
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของความสำคัญโดยใช้หลักการวัดดังนี้
ระดับความสำคัญของปัจจัย                                                                    ค่าเฉลี่ย
            มากที่สุด                                                                                      4.50-5.00
           มาก                                                                                             3.50-4.49
           ปานกลาง                                                                                    2.50-3.49
           น้อย                                                                                              1.50-2.49
                             น้อยมาก                                                                                       1.00-1.49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น