วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่2


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ดุลยเดช ชินวัตร (2540) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์ติดตามตัวในส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาของบริษัทชินวัตรเพจจิ้งจำกัด จากตัวอย่างทั้งหมด 1,151 ตัวอย่าง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กรณีคือ กลุ่มที่กำลังใช้โทรศัพท์ติดตามตัว กลุ่มที่เคยใช้โทรศัพท์ติดตามตัว รวม 833 ตัวอย่าง และกลุ่มที่ไม่เคยใช้โทรศัพท์ติดตามตัว 318 ตัวอย่าง การศึกษาพบว่ากลุ่มที่เคยใช้โทรศัพท์ติดตามตัวส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์ติดตามตัวที่เป็นรุ่นภาษาไทยมากที่สุด สาเหตุของการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่มาจากมีความจำเป็นต้องใช้ อยากใช้ ได้รับสิทธิพิเศษจากการส่งเสริมการขาย มีความประทับใจทีดีในการบริการหลังการขาย มีศูนย์บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศมากที่สุดสะดวกในการติดต่อ ได้รับการบริการที่ดี สุภาพ มีความหลากหลายในการใช้บริการเสริม ค่าใช้จ่ายในการบริการหลังการขายต่ำ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์ติดตามตัวส่วนใหญ่มีความจำเป็นเป็นผู้ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท รายการส่งเสริมการขายที่ได้รับความนิยมคือ รายการส่งเสริมการขายที่มีส่วนลดค่าเครื่อง ซื้อในราคาเต็มจำนวนแต่มีของสมนาคุณหรือสิทธิพิเศษในการใช้บริการ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์ติดตามตัวยี่ห้ออีซี่คอลและแพคลิงค์ อยากจะเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ติดตามตัวยี่ห้อโฟนลิ่งค์และโพสต์เทลมากที่สุด ส่วนสาเหตูในการเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นของผู้ใช้โทรศัพท์ติดตามตัวยี่ห้อโฟนลิงค์คือ มีปัญหาการส่งข้อความไม่สมบูรณ์ ผู้ใช้โทรศัพท์ติดตามตัวยี่ห้อฮัทชิสัน แพ็คลิงค์และอีซี่คอล ตอ้งการเปลี่ยนเพราะการรับสัญญาณไม่ค่อยดี มีพื้นที่ให้บริการน้อย ผู้ใช้โทรศัพท์ติดตามตัวยี่ห้อเวอล์ดเพจต้องการเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นเพราะมีราคาแพง และสาเหตุในการยกเลิกการใช้บริการโทรศัพท์ติดตามตัวโฟนลิ่งค์คือ ต้องการเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่ตอบสนองความต้องการได้มากกว่าโทรศัพท์ติดตามตัวสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้โทรศัพท์ติดตามตัว เป็นผู้ที่มีอายุไม่เกิน35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท และมีระดับรายได้ไม่เกิน 7,500 บาท รายการส่งเสริมการขายที่ประทับใจได้แก่การขายที่ให้ส่วนลดค่าเครื่องและการขายราคาเต็มแต่ได้รับของสมนาคุณ และการตัดสินใจหลักในการเลือกซื้อโทรศัพท์ติดตามตัวคือพื้นที่ให้บริการและความเชื่อถือของผู้ให้บริการตามลำดับ
ชนนธวัช เพชรดี (2545) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยสุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 150 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า เหตุผลสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อโทนศัพท์เคลื่อนที่คือ เพื่อใช้ชีวิตประจำวัน ในการติดต่อพ่อแม่ ญาติ เพื่อน ถึงร้อยละ 77.33 เหตุผลรองลงมาคือเพื่อใช้ติดต่อในเรื่องเร่งด่วน คิดเป็นร้อยละ 16 ส่วนเหตุผลอันเนื่องมาจากการดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แล้วเกิดความสนใจอยากได้และการซื้อตามเพื่อนหรือแฟชั่นรวมถึงเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากนี้เป็นเหตุผลที่มีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย
 มธุรส ชูฤกษ์ (2551) ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและศึกษาปัจจัยที่มีผลในการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้จากการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูล  ปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ราย โดยแยกเป็น 4 กลุ่มอาชีพดังนี้ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก กลุ่มข้าราชการศาลากลางจังหวัดลำปาง กลุ่มพนักงานธนาคารและกลุ่มประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวSME โดยเลือกมาอาชีพละ 50 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบ่งปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกเป็น 5 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยภายนอกอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ของการใช้งานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการสนทนา โดยมีความถี่ในการใช้บริการทุกวัน วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 06.01 – 12.00 . มีจำนวนซิมการ์ดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันจำนวน 1 ซิม บริษัทบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ AIS ใช้ซิมการ์ดแบบบัตรเติมเงิน ซื้อซิมการ์ดในราคา 50-200 บาท นิยมซื้อซิมการ์ดจากร้านค้าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป เหตุผลสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร รู้จักบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสื่อโฆษณา ลักษณะของการซื้อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เลือกซื้อโดยตนเองและไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนบริการโทนศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สถานที่ส่วนใหญ่ที่ผู้บริโภคซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่คือตัวแทนจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า เนื่องจากมีความสะดวก สินค้ามีคุณภาพและหลากหลาย สามารถต่อรองราคาได้ สถานที่รองลงมาคือศูนย์บริการของบริษัท รูปแบบการใช้บริการของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ จะใช้บริการแบบ Pre-paid (บัตรเติมเงิน) ถึงร้อยละ 76 เนื่องจากสะดวก ใช้งานง่าย และมีความคุ้มค่าในการใช้จ่าย ส่วนการใช้บริการแบบรายเดือน มีสัดส่วนผู้ใช้บริการร้อยละ 24  ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีค่าใช้บริการต่ำกว่า 500 บาทต่อเดือน สำหรับสาเหตุที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุดคือ เหตุผลในเรื่องรูปแบบของเครื่อง ขนาด น้ำหนักพอเหมาะ มีความสวยงามทันสมัย ร้อยละ 36

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น