วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1


บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน และสามารถรับทราบข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ปราศจากอุปสรรคขัดขวางการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคจากวิธีการสื่อสารที่ไร้ซึ่งเทคโนโลยี อุปสรรคจากชนชั้นวรรณะในสังคมที่กีดกันหรือบิดเบือนการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และโดยเฉพาะอุปสรรคจากระยะทางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการติดต่อสื่อสารกันในโลกยุคปัจจุบัน หรือการเป็นโลกไร้พรมแดน ดังนั้นโลกยุคปัจจุบันจึงกล่าวได้ว่าเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ โลกาภิวัตน์นั้น หมายถึงการแพร่กระจายไปทั่วโลก ประชาคมบนโลกไม่ว่าจะอยู่ที่ใด สามารถรับรู้สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม ประเทศหลายประเทศเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น โลกยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน มีการหลั่งไหลของทั้งกระแสทุนและกระแสของข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ
โลกาภิวัตน์จึงเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระจายข้อมูลข่าวสาร จากเดิมที่อาจจะผูกขาดอยู่ที่ใดที่หนึ่งบนโลก การเป็นโลกาภิวัตน์ทำให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นสามารถกระจายออกไปได้มากขึ้น กระจายไปสู่ภาคส่วนที่เล็กมาก ดังนั้นโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศ ไร้อุปสรรคของระยะทางและกาลเวลาได้โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสือสารกัน โลกจึงเสมือนกลายเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2553)
สังเกตได้ว่า ลักษณะของโลกยุคโลกาภิวัตน์ส่วนใหญ่จะข้องเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในโลกาภิวัตน์คือการติดต่อสื่อสารผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารเป็นกระบวนการหนึ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสาร มีรูปแบบหลักคือจะต้องส่งสารจากผู้ส่งสาร ผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ ไปยังผู้รับสารในที่สุด ซึ่งสารอาจจะอยู่ใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นท่าทางสัญลักษณ์ รูปแบบของภาษา ความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันของบุคคลเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการสื่อสารดังกล่าวขึ้
การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป อันจะทำให้คนทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันและรับรู้ข้อมูลต่างๆ ของโลก การติดต่อสื่อสารจะทำให้คนรู้จักตนเองและผู้อื่นมากขึ้น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดีดังนั้น ประชาคมโลกจึงต้องมีการติดต่อสื่อสาร และต้องการสื่อหรืออุปกรณ์สื่อสารมาช่วยให้การสื่อสารของพวกเขาสะดวกขึ้นด้วย
การพัฒนาระบบการสื่อสารมาในแต่ละยุคสมัย ประชาคมโลกในแต่ละยุคสมัยจึงมีความนิยมในการใช้ระบบการสื่อสารประเภทต่างๆ แตกต่างกันไป โดยเฉพาะในปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือ) เป็นระบบการติดต่อสื่อสารที่ได้รับกระแสความนิยมมากที่สุด โดยในปีพ.. 2553 มีผู้ลงทะเบียนใช้โทรศัพท์เคลื่นที่ทั่วโลกจำนวนกว่า 4 ,600 ล้านคนจากประชากรบนโลกกว่า 6,864 ล้านคน คิดเป็น 67.02% (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ, 2553) สาเหตุเพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความคล่องตัวในการใช้งาน เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่เร่งรีบ มีการพัฒนาระบบของโทรศัพท์ รวมถึงการให้บริการและอุปกรณ์เสริมที่ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้นก็ตาม แต่ความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงสูงกว่าระบบการสื่อสารดังกล่าว
เนื่องจากมีความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์การสื่อสารที่มีความสะดวกรวดเร็วย่อมได้รับความนิยมจากผู้ใช้มาก สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานรวมถึงการติดต่อทางธุรกรรมต่างๆ อีกด้วย
ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งคือโทรศัพท์แบล็คเบอร์รี่ (Blackberry) หรือที่เรียกกันว่าบีบี (BB) ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีระบบส่งข้อความโต้ตอบกันได้อย่างทันทีหรือ Instant message ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากบริษัทรีเสิร์ท อิน โมชั่(Research In Motion) หรือ RIM ประเทศแคนนาดา โดยโทรศัพท์ชนิดนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การประยุกต์ใช้ระบบแป้นพิมพ์ที่คล้ายคลึงกับแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์และใช้ระบบเครือข่ายการส่งข้อความที่ทันสมัย ทำให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ส่งข้อความได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ผู้ทำวิจัยจึงเห็นความสำคัญในการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ที่เลือกใช้รวมถึงผู้ที่ไม่เลือกใช้โทรศัพท์มือถือที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันที ว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลิกใช้โทรศัพท์มือถือชนิดนั้น และนักเรียนที่เลือกซื้อโทรศัพท์มือถือชนิดนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
2. ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันทีของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
3. ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ประเมินผลิตภัณฑ์ เพื่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมอีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ในการวางแผนทางการตลาดให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ นอกจากนี้ผลการศึกษาอาจมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกคน ในแง่ของพฤติกรรมและการปฏิบัติตนในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ไม่มากก็น้อย

1.4 ขอบเขตการศึกษา
การศึกษานี้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันที จากประชากรคือนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมทั้งที่ใช้และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีระบบส่งข้อความตอบโต้กันได้อย่างทันที รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2555 ถึงมกราคม พ.. 2556 จากตัวอย่างจำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค ส่วนที่สอง ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคแต่ละคน และส่วนที่สาม ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลส่วนที่สาม ใช้เทคนิคการวัดความคิดเห็นแบบลิเคิร์ทสเกล (Likert scale)

1.5 นิยามศัพท์
โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ หมายถึงอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ มีการทำงานในระบบสื่อสารสองทางผ่าน ใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น( สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย, 2553:ออนไลน์)
โทรศัพท์สมาร์ตโฟน (Smart Phone) หมายถึง โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพา
แบล็คเบอร์รี่ (Blackberry) หมายถึง โทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่พัฒนาโดยบริษัท ทรีเสิร์ช อินโมชัน (Research In Motion - RIM) โดยเริ่มผลิตในปี พ.. 2542 มีลักษณะเพจเจอร์สองทิศทางหรือสามารถส่งข้อความโต้ตอบกันได้อย่างทันที มีลักษณะเด่น3 ประการคือ (Smart Mobile Co., Ltd,2553: ออนไลน์)
1) ใช้เทคโนโลยีแบบผลัก (Push Mail technology)
2) ใช้ระบบเชตระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบล็คเบอร์รี่ ด้วยกันเอง (BlackberryMessenger)
3) มีการออนไลน์เพื่อรับหรือส่งข้อมูลกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลา( Always on and Connected)
บลูทูธ (Bluetooth) หมายถึง เทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การรับส่งสัญญาณวิทยุคลื่นสั่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายและระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับอินเทอร์เน็ต
จีพีอาร์เอส (GPRS – General Packet Radio Service) หมายถึง เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการส่งข้อมูล เป็นระบบการสื่อสารไร้สาย (wireless) ที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว 40 Kbps มีการปรับใช้ได้ทั้งกับระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
วายฟาย (WIFI หรือ Wireless) หมายถึง ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่สามารถใช้ได้ทั้
ในระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้การใช้งานโดยการปล่อยสัญญาณไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ ทำให้ผู้ใช้WIFIสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยปราศจากการติดตั้งสายอินเทอร์เน็ต
3G หมายถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม อันประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ประการแรกคือ มีการแพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ เช่นบริการสื่อสารเสียงอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ประการที่สอง มีความสามารถในการใช้โคร่งข่ายทั่วโลก (Global Roaming)คือสามารถถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง ประการต่อไปจะต้องได้รับการบริการไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) หรือใช้งานอย่างไม่สะดุด และประการสุดท้ายคือ มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ตามมาตรฐาน IMT-2000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น